โครงการ การศึกษาการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายน้ำเค็ม

และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


เอกสารที่เผยแพร่

ฐานข้อมูลสภาพแวดล้อม ทางอุทกธรณีวิทยา Hydrogeological environment database

ฐานข้อมูลสภาพแวดล้อมทางอุทกธรณีวิทยา (Hydrogeological environment database) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System, DSS) ในการพัฒนาระบบการจัดการเติมน้ำใต้ดิน ในบริบทของพื้นที่ลุ่มน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ลุ่มน้ำห้วยสายบาตร เป็นพื้นที่ต้นแบบ

การจัดการเติมน้ำใต้ดิน
(Managed Aquifer Recharge)

การจัดการเติมน้ำสู่ชั้นน้ำใต้ดิน หรือ Managed Aquifer Recharge (MAR) คือ การจัดการให้มีการเติมน้ำสู่แหล่งน้ำใต้ดินตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

เช่น เพื่อรักษาระดับหรือแรงดันน้ำบาดาล เพื่อการกักเก็บและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในช่วงเวลาหรือในพื้นที่ที่ต้องการ หรือเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็ม หรือการทรุดตัวของแผ่นดิน เป็นต้น เดิมเรียกว่า การเติมน้ำเทียม หรือ artificial recharge หรือบางครั้งเรียกว่า การเพิ่มการเติมน้ำบาดาล (enhanced recharge) ธนาคารน้ำ (water banking) หรือ การกักเก็บน้ำใต้ผิวดินอย่างยั่งยืน (sustainable underground storage) เป็นต้น (Dillon et al., 2009) แต่เมื่อมีการพัฒนาการของระบบมากขึ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนก็มีมากขึ้น การใช้คำว่าการเติมน้ำเทียมซึ่งใช้กันมานานแต่มีความหมายในเชิงลบ ทำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจระบบการเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินผิด โดยคิดว่าไม่ได้ใช้น้ำในธรรมชาติมาเติมจึงมีการต่อต้านในบางกรณี นักวิจัยจึงปรับปรุงระบบเติมน้ำใต้ดินให้มีการจัดการที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และพร้อมใจกันใช้ชื่อเรียกระบบการเติมน้ำบาดาลใหม่ว่า Managed Aquifer Recharge หรือนิยมเรียกว่า MAR

คู่มือการจัดการเติมน้ำใต้ดิน