Author Archives: Sutasinee Musikapun

วันที่ 15-16 มีนาคม 2566 ทีมที่ปรึกษาโครงการฯจากสถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ดร. เกวรี พลเกิ้น และคณะทำงานเครือข่ายชุมชนต้นแบบเติมน้ำใต้ดินตำบลนนทรี นำโดย คุณไพจิตร จอมพันธ์และคุณกนกนนภัส สุริยธนธร ได้ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืนฯ และพูดคุยสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการทำเกษตรของแต่ละตำบล เพื่อใช้ในการคัดเลือกพื้นที่ชุมชนเครือข่ายเติมน้ำใต้ดิน ภายใต้โครงการการพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืนด้วยการเติมน้ำใต้ดิน พื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ปี 2566 โดยมีกำหนดการที่ดังนี้วันที่ 15 มีนาคม 2566 พื้นที่ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรีวันที่ 15 มีนาคม 2566 พื้นที่ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรีวันที่ 16 มีนาคม 2566 พื้นที่ตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีวันที่ 16 มีนาคม 2566 พื้นที่ตำบลนาแขม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยการลงพื้นที่ดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากผู้นำและตัวแทนเกษตรกรของแต่ละตำบลเป็นอย่างดี เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปคัดเลือกพื้นทีชุมชนเครือข่ายเติมน้ำใต้ดิน เพื่อพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืนด้วยการเติมน้ำใต้ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี อย่างต่อเนื่องต่อไป

สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เชิญเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมมาให้ความรู้ เกี่ยวกับ สิทธิประโยชน์ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุม (1202) ชั้น 2 อาคารสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ ได้รับรู้ถึง สิทธิประโยชน์ประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน           โดยได้รับเกียรติจากนางสาวนันธิญา  ศรีไชยโย นักวิชาการแรงงานชำนาญการ  หัวหน้างานสิทธิประโยชน์ สำนักงานประกันสังคม จังหวัดขอนแก่น มาเป็นวิทยากรในการบรรยายครั้งนี้

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566  ศูนย์มีชัยบ้านไผ่ และเกษตรกรบ้านหนองแวงน้อย ต.บ้านหัน อ.โนนศิลา จ.ขอนแก่น จำนวน 26 คน มาศึกษาดูงาน เรื่อง การจัดการเติมน้ำใต้ดิน และการปลูกผักปลอดสาร ณ ศูนย์เรียนรู้ผักปลอดภัยจากสารพิษ บ้านหม้อ และพื้นที่เติมน้ำใต้ดินต้นแบบบ้านหม้อ ต.คูคำ อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น         พ่อสุนันท์ เผ้าหอม ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการบรรยายบรรยาย หัวข้อเรื่อง การปลูกผักปลอดสาร และ ผศ.ดร.โพยม สราภิรมย์ ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน บรรยาย เรื่อง การจัดการเติมน้ำใต้ดินต้นแบบ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบเติมน้ำใต้ดินผ่านบ่อวงตื้น ระบบเติมน้ำใต้ดินจากหลังคา ระบบเติมน้ำใต้ดินผ่านร่องหรือคันดักน้ำ และระบบเติมน้ำใต้ดินผ่านสระ การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายน้ำเค็ม และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

9/38